ระบบเศรษฐกิจ
1. การเกษตร/การประมง/การปศุสัตว์/การพาณิชย์
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะการทำนาซึ่งมีผลผลิต 400 กิโลกรรมต่อไร่ และมีการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนในการทำนาของประชากรในพื้นที่จะเป็นการอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ส่วนการชลประทานมีเป็นส่วนน้อย
นอกจากอาชีพหลักแล้วประชากรส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ โดยปล่อยให้หาอาหารกินตามธรรมชาติ แต่นับเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ได้แก่ วัว กระบือ สุกร ส่วนสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงเป็นปกติประจำวัน โดยปล่อยให้หาอาหารกินเองตามธรรมชาติ แต่เป็นอาหารพื้นบ้านและใช้เป็นอาหารประจำวัน โดยไม่ต้องซื้อหา ได้แก่ ไก่ เป็ดเป็นต้น
ประชากรส่วนหนึ่งประกอบอาชีพการทำหัตกรรมพื้นบ้าน เช่น เย็บผ้า สานเสื่อจากต้นกก ทอผ้าไหม เป็นต้น ส่วนการค้าขายมีบ้าง โดยมากจะตั้งเป็นกลุ่มร้านค้าชุมชนและมีการตั้งกลุ่มอาชีพบ้าง แต่ยังไม่มีกิจกรรมดำเนินการของกลุ่มอย่างต่อเนื่องหน่วยธุรกิจ/รัฐวิสาหกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยางคำ
- ปั๊มน้ำมันขนาดใหญ่ 1 แห่ง
-ปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก ( ปั๊มหลอด ) 13 แห่ง
-โรงสีชุมชน 11 แห่ง
-โรงสีเอกชน 11 แห่ง
-ร้านค้าเอกชน 25 แห่ง
-ร้านค้าชุมชน 10 แห่ง
2. กลุ่มองค์กรภาคประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลยางคำ มีการดำเนินการกิจกรรมมวลชนภายในของแต่ละหมู่บ้าน และระดับตำบล โดยแบ่งออกได้ดังนี้
-คณะกรรมการพัฒนากลุ่มสตรีระดับตำบล จำนวน 1 คณะ
-คณะกรรมการพัฒนากลุ่มสตรีระดับหมู่บ้าน จำนวน 13 คณะ
-คณะกรรมการพัฒนากลุ่มเยาวชนระดับตำบล จำนวน 1 คณะ
-คณะกรรมการพัฒนากลุ่มเยาวชนระดับหมู่บ้านจำนวน 13 คณะ
3. การท่องเที่ยว
องค์การบริหารส่วนตำบลยางคำ มีแหล่งโบราณสถานเก่าแก่คือ ปรางค์กู่ท้าวคันธนาม ตั้งอยู่ที่วัดกู่คันธนาม บ้านกู่คันธนาม หมู่ที่ ๙ ตำบลยางคำ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นสถานที่สำหรับศึกษาทางประวัติศาสตร์ มีโบราณวัตถุเก่าแก่อยู่ในยุคสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี ได้ดำเนินการขุดแต่งเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ พบศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ จำนวน ๗ รายการ
องค์การบริหารส่วนตำบลยางคำ ตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกลจากตัวจังหวัดแต่การคมนาคมสะดวก มีแหล่งโบราณวัตถุแต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเท่าที่ควร หากมีการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว คาดว่าจะเป็นสถานที่ที่เหมาะควรแก่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อศึกษาทางประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่เป็นป่าดงดิบแต่ยังไม่ได้รับการอนุรักษ์และพื้นฟูให้อุดมสมบูรณ์ หากมีการฟื้นฟูให้คงสภาพดังเดิมแล้วจะเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยอาหารธรรมชาติอย่างแน่นอน
4. แรงงาน
ในเขตพื้นที่บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลยางคำ มีประชากรในวัยแรงงานเพียงพอสำหรับงานพัฒนาด้านๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรม ด้านเกษตรกรรม และแรงงานจำนวนมากในเขตพื้นที่เหล่านี้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอ ซึ่งประชากรในวัยแรงงานและมีคุณภาพเหล่านี้จะเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป
|